จรรยาบรรณและความอยู่รอดกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกยกขึ้นมาตั้งคำถาม ว่าการเป็นสื่อที่ดีและอยู่รอดได้ด้วยใสสถานการณ์ปัจจุบัน ยังสามารถทำได้หรือไม่ การส่งเสริมจริยธรรม หรือจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่อควรได้รับการตอกย้ำและยกระดับในการสร้างสรรค์ข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอข่าวไม่ให้บิดเบือน หรือเบี่ยงเบนหรือนำเสนอข่าวเพื่อเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นการครอบงำที่ทำให้สื่อไม่สามารถนำเสนอความเป็นกลางได้ ทั้งนี้นักสื่อสารมวลชนจะต้องระวังมีจริยธรรมในการนำเสนอ เพราะทุกข้อความในการสื่อสารนำเสนอล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ต่อสังคม และต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการครอบงำทางการเมือง สื่อจะต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริง และเสนอข่าวในเชิงสร้างสรรค์ให้เห็นผลสองด้านเท่ากัน การที่สื่อไม่ถูกครอบงำทางการเมืองหรือกลุ่มอำนาจใดอำนาจหนึ่ง วางบทบาทเป็นกลางอย่างแท้จริง มีการนำเสนอข่าวทั้งสองฝ่ายอย่างเสรี ทำการตรวจสอบเพื่อให้ข้อเท็จจริงปรากฎต่อสังคม ซึ่งรูปแบบการนำเสนอ ภาพการนำเสนอ น้ำเสียงในการถ่ายทอด องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่นักสื่อสารมวลชนมืออาชีพจะต้องให้ความสำคัญ และมีจุดยืนถึงความเป็นกลางเป็นที่ตั้ง เพื่อส่งเสริมสังคมให้เกิดความมีศิวิไลซ์ มากกว่าการเป็นพวกใดพวกหนึ่ง ปัญหาความเป็นกลางหรือการครอบงำ ถือเป็นปัญหาระดับโครงสร้าง เพราะเกิดการผูกขาดของกลุ่มนายทุน การแทรกแซงจากรัฐบาลหรือฝ่ายการเมือง หรือการอยู่ภายใต้แรงกดดันในการแสดงหาผละโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนสะท้อน การคุมคามและลิดรอดสิทธิและเสรีภาพของสื่อ และการริดรอดสิทธิและเสรีภาพของผู้รับสารอีกด้วย ดังนั้นการกำกับด้านเนื้อหา โดยใช้การกำกับบังคับใช้ทางกฎหมาย การกำกับกันเอง หรือการกำกับร่วมกัน เป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยให้เกิดมาตรฐานของการประกอบกิจการโทรทัศน์ของไทยทั้งสิ้น