บทความ

การเปลี่ยนผ่านของกิจการกระจายเสียงจากอดีตถึงปัจจุบัน

  วิทยุกระจายเสียงของไทยในอดีตเป็นสื่อหลักในการเผยแพร่ข่าวสารทั้งสาระและความบันเทิง ประชาชนส่วนใหญ่ใช้สื่อวิทยุในการติดตามข่าวสาร การประชาสัมพันธ์ของรัฐ ฯลฯ นักนิเทศศาสตร์ได้สะท้อนว่าสื่อและสังคมมีความสัมพันธ์กันและมีผลกระทบต่อสังคมเช่นกัน ยุคแรกๆ วิทยุกระจายเสียงกลายเป็นการผูกขาดโดยภาครัฐ เพราะรัฐเป็นผู้ถือครองสิทธิ์แต่แรก ก่อนที่จะมีการให้ภาคเอกชนเข้ามาครอบครอง

  ในขณะที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา เป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทของสื่อวิทยุกระจายเสียง เพราะคลื่นความถี่จากเดิมที่ถูกครอบครอง ผูกขาดโดยรัฐหรือนายทุน ได้เปลี่ยนเป็น “ทรัพยากรเพื่อประโยชน์สาธารณะ” ดังนั้นจึงมีผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีการกำกับดูแลภายใต้ชื่อ “สำนักงาน กสทช.” ทั้งในเรื่องการการจัดสรรคลื่นความถี่ บทบาทของสื่อ และเนื้อหาของสื่อกิจการกระจายเสียง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม จนกระทั่งผลกระทบที่มีต่อกิจการกระจายเสียงเมื่อเทคโนโลยีเริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคมโลกมากขึ้น พฤติกรรมของผู้บริโภคจึงเปลี่ยนแปลงไปตามยุคและสมัยนั้นๆ สื่อวิทยุกระจายเสียงจากเดิมที่เคยเป็นสื่อหลัก กลับได้รับความนิยมที่ลดน้อยลง เพราะคนเริ่มบริโภคสื่อในกิจการโทรทัศน์มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเห็นทั้งภาพและเสียง จากในอดีตที่ชาวบ้านฟังหนังผ่านสื่อกระจายเสียงได้ฟังเพียงการพากษ์เสียงของตัวละครเท่านั้น แต่การได้รับอรรถรสของการได้เห็นผ่านจอแก้ว ทำให้บทบาทของกิจการกระจายเสียงได้รับความสนใจน้อยลงตามไปด้วย

  ยิ่งไปกว่านั้นการเปลี่ยนแปลงของดิจิตอลที่กลายเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สื่อกิจการกระจายเสียงต้องปรับตัวอย่างมากเพื่อการอยู่รอดของภาคธุรกิจ ปัจจุบันสื่อวิทยุไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนมากนัก นักวิทยุ รวมถึงผู้ประกอบการต้องมีกลุยทธ์ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของวิวัฒนการของการใช้สื่อ นั่นคือ “การสร้างสรรค์บริบทของเนื้อหารายการ หรือที่เรียกว่า Content” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้กิจการกระจายเสียงสามารถอยู่รอดได้ในยุคที่มีการแข่งขันอย่างเสรี ต้องทำอย่างไรให้ผู้บริโภคอยากติดตามหรือฟังตลอดเวลา ดังนั้นจึงต้องเรียนรู้และปรับตัว มีการผสมผสานสื่อหลายอย่างเข้าด้วยกันนั่นเอง

นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์
ข่าวสารล่าสุด

ศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะเพื่อผู้บริโภค

การหลอมรวมของเทคโนโลยีต้องปราศจากการครอบงำ

สภาพสังคมกับการรับมือการพัฒนาเทคโนโลยี

การสร้างเสริมเครือข่ายผู้บริโภค

การเปลี่ยนผ่านของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

ดิจิตอลทีวี VS วิทยุดิจิตอล

การกำกับและดูแลเนื้อหาสื่อวิทยุและโทรทัศน์

โลกเสมือนจริง (Metaverse) อุตสาหกรรมโทรทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป

การกำกับและดูแลเนื้อหาสื่อโทรทัศน์

การกำกับดูแลของกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย

การเปลี่ยนผ่านของกิจการโทรทัศน์สู่ยุคดิจิตอล

วิทยุดิจิตอล คืออะไร?

คลื่นความถี่วิทยุประโยชน์ในการนำมาใช้ทางสังคม

การอยู่รอดของวิทยุชุมชน

การเปลี่ยนผ่านของกิจการกระจายเสียงจากอดีตถึงปัจจุบัน

การกำกับและดูแลเนื้อหาสื่อวิทยุ