การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญ บทบาทของสื่อในการทำหน้าที่เพื่อสื่อสารข่าวสาร เพื่อประชาสัมพันธ์ล้วนแล้วแต่มีผลต่อสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ทั้งสิ้น รูปแบบการใช้การสื่อสารต่างเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน จากเดิมการเผยแพร่ข่าวสารอาจจะมีความล่าช้า มีการคัดกรองก่อนนำเสนอข่าว แต่ด้วยการใช้เทคโนโลยีทำให้การสื่อสารสามารถส่งออกและกระจายไปอย่างรวดเร็วผ่านช่องทางอินเตอร์เน็ต การสื่อทางออนไลน์ การแชร์ต่อๆ กัน สร้างให้เกิดกระแสหรือแรงกระเพื่อมในเรื่องที่ต้องการสื่อสาร หรือเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการอยู่ยอดของธุรกิจ จึงอาจจะทำให้หลงลืมจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่อที่ดี เพื่อให้ได้รับ Rating ที่ดี มียอดคนติดตาม และสามารถนำไปขายสปอนเซอร์ในรายการได้ เป็นต้น
ทั้งนี้จรรยาบรรณและความอยู่รอดกลายเป็นประเด็นสำคัญที่ถูกยกขึ้นมาตั้งคำถาม ว่าการเป็นสื่อที่ดีและอยู่รอดได้ด้วยใสสถานการณ์ปัจจุบัน ยังสามารถทำได้หรือไม่ การส่งเสริมจริยธรรม หรือจรรยาบรรณวิชาชีพของสื่อควรได้รับการตอกย้ำและยกระดับในการสร้างสรรค์ข้อมูลข่าวสาร การนำเสนอข่าวไม่ให้บิดเบือน หรือเบนเบียงหรือนำเสนอข่าวเพื่อเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นการครอบงำที่ทำให้สื่อไม่สามารถนำเสนอความเป็นกลางได้ ทั้งนี้นักสื่อสารมวลชนจะต้องระวังมีจริยธรรมในการนำเสนอ เพราะทุกข้อความในการสื่อสารนำเสนอล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ต่อสังคม และต่อเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการครอบงำทางการเมือง สื่อจะต้องเป็นอิสระอย่างแท้จริง และเสนอข่าวในเชิงสร้างสรรค์ให้เห็นผลสองด้านเท่ากัน การที่สื่อไม่ถูกครอบงำทางการเมืองหรือกลุ่มอำนาจใดอำนาจหนึ่ง วางบทบาทเป็นกลางอย่างแท้จริง มีการนำเสนอข่าวทั้งสองฝ่ายอย่างเสรี ทำการตรวจสอบเพื่อให้ข้อเท็จจริงปรากฎต่อสังคม ซึ่งรูปแบบการนำเสนอ ภาพการนำเสนอ น้ำเสียงในการถ่ายทอด องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่นักสื่อสารมวลชนมืออาชีพจะต้องให้ความสำคัญ และมีจุดยืนถึงความเป็นกลางเป็นที่ตั้ง เพื่อส่งเสริมสังคมให้เกิดความมีศิวิไลซ์ มากกว่าการเป็นพวกใดพวกหนึ่ง ปัญหาความเป็นกลางหรือการครอบงำ ถือเป็นปัญหาระดับโครงสร้าง เพราะเกิดการผูกขาดของกลุ่มนายทุน การแทรกแซงจากรัฐบาลหรือฝ่ายการเมือง หรือการอยู่ภายใต้แรงกดดันในการแสดงหาผละโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนสะท้อน การคุมคามและลิดรอดสิทธิและเสรีภาพของสื่อ และการริดรอดสิทธิและเสรีภาพของผู้รับสารอีกด้วย
อย่างไรก็ตามการกำกับดูแลสื่อทั้งด้านโทรทัศน์และด้านวิทยุ จะต้องแบ่งเนื้อหาตามความหลากหลายและมิติของข่าวสาร เนื้อหาที่จะนำเสนอ รวมถึงกลุ่มเป้าหมาย หรือผู้รับสาร แม้ กสทช. จะมีการกำหนดกรอบการดูแลเนื้อหาทั้งสื่อวิทยุชุมชน สื่อโทรทัศน์ เช่น มีการกำหนดให้มีรายการที่เป็นข่าวสาร หรือสาระที่เป็นประโยชน์ ในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 มีการตรวจสอบระบบผังรายการ แต่ส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะสร้างความเข้มแข็ง นั่นคือ “การรวมกลุ่มและการกำกับกันเอง” ซึ่งหากศึกษาในต่างประเทศ จะพบว่า หลายประเทศใช้การกำกับร่วมกัน มีการติดตามตรวจสอบภายใน 60 วัน เป็นต้น ซึ่งถือเป็นแนวทางหนึ่งที่จะสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลข่าวสาร เพื่อประโยชน์และเป็นข้อมูลเชิงสร้างสรรค์แก่สังคมไทย