บทความ

การเปลี่ยนผ่านของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

 การเปลี่ยนผ่านระบบการรับส่งสัญญาณโทรทัศน์จากระบบ “อนาล็อก” สู่ระบบ “ดิจิตอล” กลายเป็นเรื่องใหม่ที่จะต้องสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในการเตรียมตัว และเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ ทั้งนี้เราจะได้ยิน ได้รับชมโฆษณาที่มีการสื่อสารอย่างเรื่อยๆ เป็นระยะ ในการเตรียมตัวสู่การเปลี่ยนแปลง โดยการให้ข้อมูลของความหลากหลายของจำนวนช่องที่เพิ่มมากขึ้น เท่ากับประชาชนจะมีรายงานเลือกเพิ่มเติม จากเดิมที่มีเพียง ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 และ ช่อง 9 ซึ่งถือเป็นสื่อหลัก ช่อง 11 และ ไอทีวี การได้รับภาพที่คมชัดมากยิ่งขึ้น หากเทียบกับในสมัยก่อนวิวัฒนาการของการส่งผ่านภาพและเสียง จากขาวดำ แล้วค่อยมาเป็นสี การเปลี่ยนสู่ดิจิตอลจะทำให้ผู้รับชมได้รับภาพที่คมชัดมากยิ่งขึ้น มีเสียงสองภาษา มีอัลกอริทึมต่างๆ ที่พัฒนามากยิ่งขึ้น

 หากลองมองย้อนกลับไปจะพบว่าตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารูปแบบการรับข่าวสารของผู้รับสารมีการเปลี่ยนแปลง จากจัดส่วนในอดีตการรับข่าวสารส่วนใหญ่ผ่านวิทยุกระจายเสียง และต่อมาจึงเป็นระบบภาพและเสียงในรูปแบบโทรทัศน์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจากสังคมโลกาภิวัฒน์ พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน ย่อมส่งผลกระทบต่อผู้ดำเนินธุรกิจในด้านนั้นๆ ด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ในยุคที่สื่อวิทยุเป็นสื่อหลัก การเติบโตในการใช้คลื่นความถี่ทางกิจการกระจายเสียงมีอยู่มาก เมื่อกิจการโทรทัศน์กลายเป็นสื่อหลัก ทำให้อัตราคนใช้บริการลดลง การเติบโตของธุรกิจกิจการโทรทัศน์มีสูงมากขึ้น และมีการถ่ายทอดผ่านดาวเทียมเพื่อเผยแพร่ภาพและเสียงสู่ประเทศต่างๆ ทีวีดาวเทียมได้รับความนิยม มีการเก็บค่าบริการที่สูง แต่ต่อมากิจการดังกล่าวก็สูญหายไป ด้วยเศรษฐกิจที่ซบเซา การเพิ่มการแข่งขันทางกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ในช่วงยุคดิจิตอลกลายเป็นเรื่องท้าทายอย่างมากในการอยู่รอดของผู้ประกอบการ คำว่า Content หรือ “เนื้อหารายการ” กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจ และเป็นเรื่องท้าทายของผู้ผลิตที่จะนำเสนออย่างไรให้โดนใจกลุ่มผู้รับชม รับฟัง ภายใต้กรอบของการควบคุมความเหมาะสม การจัด positioning ของสื่อจึงต้องมีกลยุทธ์อย่างมากด้วยเช่นกัน ผู้ประกอบการจำเป็นต้องวางทิศทางและพัฒนารูปแบบรายการให้ตรงความต้องการ เมื่อได้รับกระแสความนิยม ก็มีค่าโฆษณาตามา ทำให้เกิดรายได้ในการหล่อเลี้ยงองค์กร เช่นเดียวกันกับกิจการกระจายเสียง ที่จะสร้างสรรค์รายการของสื่อวิทยุอย่างไร ให้ผู้ฟังติดหู เปิดฟังคลื่นวิทยุดังกล่าว เพื่อให้มีการซื้อสปอตโฆษณาผ่านคลื่นวิทยุในช่องนั้นๆ

 ทั้งนี้ถือเป็นความท้าทายในการเปลี่ยนแปลง แต่เป็นความได้เปรียบของผู้บริโภคที่จะสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองต้องการสูงสุด แม้เทคโนโลยีต่างๆ จะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การปรับตัวของผู้ประกอบการ การปรับตัวของผู้บริโภค เป็นสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ วางแผน การดำเนินการเพื่อไม่ให้กลายเป็นสื่อที่ถูกลืม หรือกลายเป็นบุคคลที่ล้าหลัง

นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์
ข่าวสารล่าสุด

ศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะเพื่อผู้บริโภค

การหลอมรวมของเทคโนโลยีต้องปราศจากการครอบงำ

สภาพสังคมกับการรับมือการพัฒนาเทคโนโลยี

การสร้างเสริมเครือข่ายผู้บริโภค

การเปลี่ยนผ่านของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

ดิจิตอลทีวี VS วิทยุดิจิตอล

การกำกับและดูแลเนื้อหาสื่อวิทยุและโทรทัศน์

โลกเสมือนจริง (Metaverse) อุตสาหกรรมโทรทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป

การกำกับและดูแลเนื้อหาสื่อโทรทัศน์

การกำกับดูแลของกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย

การเปลี่ยนผ่านของกิจการโทรทัศน์สู่ยุคดิจิตอล

วิทยุดิจิตอล คืออะไร?

คลื่นความถี่วิทยุประโยชน์ในการนำมาใช้ทางสังคม

การอยู่รอดของวิทยุชุมชน

การเปลี่ยนผ่านของกิจการกระจายเสียงจากอดีตถึงปัจจุบัน

การกำกับและดูแลเนื้อหาสื่อวิทยุ