บทความ

การสร้างเสริมเครือข่ายผู้บริโภค

 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งให้ความคุ้มครองว่าด้วยเรื่องสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย กล่าวคือบุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย และมีความเสมอภาค ดังนั้นจะเห็นได้ว่าภาครัฐและภาคเอกชน ต่างได้ร่วมกันส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของตนเอง รวมถึงสิ่งใกล้ตัวนั้นคือ “สิทธิของผู้บริโภค” ในทุก ๆ วัน ทุกคนล้วนแล้วแต่มีบทบาทการเป็น “ผู้บริโภค” ด้วยกันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภคในการรับสาร การโฆษณา การให้ข่าว ฯลน หรือการเป็นผู้บริโภคที่มีการซื้อขายสินค้าและหรือบริการก็ดี ในฐานผู้บริโภคควรรู้จักสิทธิของตนเองเพื่อไม่ให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือถูกหลอกลวงทางข้อมูล เกิดความหลงเชื่อในทางที่ผิด ทั้งนี้การส่งเสริมให้ความรู้มิได้เป็นเพียงหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่ฟันเฟืองสำคัญ ที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนและสร้างเป็นเกราะป้องกันการเอาเปรียบหรือการหลอกลวงที่ดีที่สุด คือ “เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค”

 เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค เป็นการรวมกลุ่มเพื่อช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เป็นการให้ความรู้ความเข้าใจถึงสิทธิของผู้บริโภคในด้านต่างๆ อาทิเช่น ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง การเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ การได้รับความเป็นธรรมทางกฎหมาย ตลอดจนเป็นรักษาผลประโยชน์ของตนเองเมื่อได้รับความเดือดร้อน นอกเหนือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค อาทิ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) สำนักงานมาตรฐานการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับการสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ เพื่อส่งเสริมการรวมตัวกันในแต่ละภูมิภาค มีตัวแทนแต่ละจังหวัด และแต่ละกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายเยาวชนก็ดี เป็นการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในการรู้เท่าทันสื่อ และเป็นการเผยแพร่ ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ไม่ว่าจะเป็นรุ่นผู้ใหญ่สู่เด็ก หรือเด็กสู่ผู้ใหญ่ในสังคมก็ตาม ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า “เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค” เป็นการรวมกลุ่มที่มีความเข้มแข็งเป็นอย่างมาก มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในทิศทางเดียวกัน เป็นฟั่นเฟืองขับเคลื่อนกระบวนการและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมที่แท้จริงและเกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสุงสุด ก่อให้เกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างเครือข่ายและหน่วยงานกำกับหรือหน่วยงานรับร้องเรียนที่เกี่ยวข้องในแต่ละด้าน

 กาสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จะมีความยั่งยืน และเป็นชุดเชื่อมองค์ความรู้ การเฝ้าระวัง การติดตาม เพื่อเป็นรูปธรรมอย่างเป็นระบบและมีความชัดเจน ครอบคลุมทุกกลุ่ม เนื่องจากเป็นการสร้างเครือข่ายกลุ่มคนที่มีเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือความต้องการที่เหมือกัน ทั้งกลุ่มเครือข่ายคนพิการ กลุ่มเครือข่ายเยาวชน กลุ่มเครือข่ายผู้สูงอายุ เหล่านี้เป็นต้น ทั้งนี้สิ่งหนึ่งที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพึงตระหนักถึงการสร้างเครือข่าย คือ การสร้างผู้นำหรือแกนนำอาสาสมัคร ให้มีความรู้และเป็นผู้ช่วยขับเคลื่อนในพื้นที่ของตนเอง จากจุดเล็ก ๆ แบบจุลภาค ไปสู่แบบมหภาค หากทุกกลุ่มมีทิศทางที่ตรงกัน กลายเป็นเส้นใยโครงข่ายที่เชื่อมต่อกันในทุกพื้นที่ ทุกจังหวัด และสามารถกลายเป็นกลุ่มเครือข่ายที่ได้รับการรับรอง ซึ่งจะเป็นการสร้างความเชื่อถือและความยั่งยืนให้เกิดขั้นในพื้นที่ ชุมชน และสังคมนั้นๆ ต่อไป

นายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์
ข่าวสารล่าสุด

ศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะเพื่อผู้บริโภค

การหลอมรวมของเทคโนโลยีต้องปราศจากการครอบงำ

สภาพสังคมกับการรับมือการพัฒนาเทคโนโลยี

การสร้างเสริมเครือข่ายผู้บริโภค

การเปลี่ยนผ่านของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์

ดิจิตอลทีวี VS วิทยุดิจิตอล

การกำกับและดูแลเนื้อหาสื่อวิทยุและโทรทัศน์

โลกเสมือนจริง (Metaverse) อุตสาหกรรมโทรทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไป

การกำกับและดูแลเนื้อหาสื่อโทรทัศน์

การกำกับดูแลของกิจการโทรทัศน์ของประเทศไทย

การเปลี่ยนผ่านของกิจการโทรทัศน์สู่ยุคดิจิตอล

วิทยุดิจิตอล คืออะไร?

คลื่นความถี่วิทยุประโยชน์ในการนำมาใช้ทางสังคม

การอยู่รอดของวิทยุชุมชน

การเปลี่ยนผ่านของกิจการกระจายเสียงจากอดีตถึงปัจจุบัน

การกำกับและดูแลเนื้อหาสื่อวิทยุ