วิกฤตโควิท - ๑๙ ผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก รวมถึงพฤติกรรมของคนเปลี่ยนแปลงไป ด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้เร็วขึ้น การเปลี่ยนแปลงเป็นสภาพบังคับที่ทำให้การเปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ ค่อยเป็นค่อยไป กลายเป็น การเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ ทุกคนจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตประจำวัน และปรับรูปแบบการทำงานของหน่วยงาน ไม่เพียงแค่การ Disrupt ของเทคโนโลยีที่มาแทนในหลายมิติ ปัจจุบันเรารู้จักคำว่า “โลกเสมือนจริง Metaverse” หรือที่มีการนิยามคำแปลว่า “จักรวาลที่เหมือนจริง”
การก้าวเข้าสู่ระบบดิจิตอลทีวี ทำให้เกิดการแข่งขันของผู้ประกอบการ การต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภค หลายๆ ผู้ประกอบการไม่สามารถอยู่รอดในการแข่งขันที่ท้าทายและดุเดือดได้ หรือแม้กระทั้งกำไรสุทธิที่ลดลงอย่างมาก อุตสาหกรรมโทรทัศน์จะต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อการอยู่รอด ไม่เพียงแค่การลดคน ซึ่งเป็นผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ เพราะค่าโฆษณาต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปสู่โลกดิจิตอล Platform ของการสื่อสาร นำเสนอข่าวสารเปลี่ยนแปลงไป อุตสาหกรรมโทรทัศน์กำลังเข้าสู่การท้าทายอีกระลอกที่สำคัญ การสร้างสรรค์ content ให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป จะทำอย่างไรเพื่อการอยู่รอดและปรับตัวเข้ากับการ Disrupt Technology ดังนั้นกลยุทธ์ขององค์กรจึงมีความสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นกลยุทธ์ทางการตลาด กลยุทธ์ด้านลูกค้า ความคิดสร้างสรรค์และความเร็วต่อการเปลี่ยนแปลง ในขณะเดียวกันองค์กรกำกับก็จำเป็นจะต้องเรียนรู้และก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของสื่อ เพราะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทำให้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างการกำกับดูแล การหลอมหลวมขององค์กร การกำกับดูแลกันเองของสื่อ การสร้างความเป็นธรรมและการเข้าถึงประโยชน์สาธารณะของชาติ คนไทยจะต้องปรับตัวอย่างไรกับกระแสใหม่ที่จะเกิดขึ้น หน่วยงานกำกับจะต้องไม่ก่อให้เกิดความผูกขาดในขณะที่จะต้องส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มของภาคอุตสาหกรรมโทรทัศน์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดความเป็นธรรม เกิดประสิทธิภาพ และยังอยู่ภายใต้การควบคุมของกฎหมายอีกด้วย