ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ตามหลักเศรษฐศาสตร์แล้วคือจะทำอย่างไรกับทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรของชาติ จึงจำเป็นที่จะต้องจัดสรรอย่างคุ้มค่าและเท่าเทียมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้นการกำกับดูแลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องอาศัยองค์กรอิสระในการกำกับดูแล สื่อวิทยุได้รับความสนใจและเข้าถึงกลุ่มคนจำนวนมาก หลายๆ ประเทศ เริ่มเห็นความสำคัญของการกำกับดูแลและจัดสรรคลื่นความถี่ โดยในทางกฎหมาย และการการกำกับดูแลกันเอง
การปฎิรูปสื่อจึงกลายเป็นกระแสที่สังคมให้ความสนใจ ประเทศไทยเริ่มมีองค์กรวิชาชีพรวมกลุ่มเพื่อกำกับและดูแลเนื้อหาของสื่อวิทยุ ซึ่งการกำกับดูแลกันเอง ทำให้เกิดความยืดหยุ่นและลดการแทรกแซงจากภาครัฐ มีการกำกับโดยกฎหมายเพื่อให้เกิดความเข้มงวดของสื่อในรูปแบบโครงสร้างและเนื้อหา ทั้งนี้การควบคุมด้านเนื้อหา โดยมุ่งเน้นความสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อสังคม ลดการเชิญชวนหรือทำให้หลงเชื่อในทางที่ผิด โดยจะต้องสร้างกลไกตรวจสอบสื่อที่มีคุณภาพ ข้อมูลความเที่ยงตรงถูกต้องก่อนการนำเสนอ โดยเฉพาะประเด็นที่มีความอ่อนไหวและง่ายต่อการสร้างความแตกแยก อย่างไรก็ตามการกำกับจะต้องไม่ลิดรอนสิทธิของสื่อด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ในฐานะผู้รับสารจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและรู้เท่าทันสื่อด้วยเช่นกัน เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อของการของการหลอกหลวงให้หลงเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการโฆษณาที่เกินจริง
องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นพลวัตรที่สำคัญอย่างยิ่งในการที่จะสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความผาสุข บนพื้นฐานการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อสังคม และจะต้องก่อให้เกิดการอยู่รอดในภาคธุรกิจอีกด้วย ทังนี้หากขาดซึ่งองค์ประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างทั้งต่อด้านสังคม เศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศ